26.11.50

บทความคณิตศาสตร์





จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการต่างเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือต้องจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการและธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระยะปฐมวัยเป็นวัยเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สนใจ อยากรู้ อยากเห็น มีการเลียนแบบผู้ใหญ่ พัฒนาการทางสติปัญญายังไม่เจริญเท่าที่ควร เด็กยังไม่สามารถศึกษาเหตุผลได้ สิ่งที่แสดงออกมามักเกิดจากการรับรู้และจดจำเลียนแบบผู้อื่น ลักษณะที่เด่นชัดของวัยนี้ คือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Ego - centric)นักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการยิ่งตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กและเน้นการส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ โดยการจัดประสบการณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมแก่เด็ก ดังนี้เพสตาลอสซี (Peatalozzi) ได้ให้แนวคิดว่า การสอนเด็กเล็กต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนความแตกต่างระหว่างบุคคล เขาเป็นผู้ริเริ่มคิดเรื่องความพร้อมและไม่บังคับให้เด็กเรียนแบบท่องจำ แต่ให้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ทางวัตถุหรือรูปธรรมที่ทำให้เด็กได้สังเกตและเข้าใจจากการเห็นด้วยสายตา สัมผัสจับต้องและรู้สึก เขาเชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ ความต้องการ และอัตราในการเรียนรู้เฟรอเบล (Froebell) มีแนวคิดว่า การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กเล็ก เขามีความเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถอยู่ภายใน และจะแสดงออกเมื่อได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนด้วยการเล่นกิจกรรมต่าง ๆ เขาจึงประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กและเสนอกิจกรรมการเล่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กมอนเตสเซอรี่ (Montessori) เป็นผู้นำความคิดของเฟรอเบลมาปรับปรุง และเสนอการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่น โดยเชื่อว่าการสอนเด็กเล็กนั้นจะต้องคำนึงถึงเสรีภาพ และความต้องการของเด็กเป็นสำคัญ มีความเห็นสอดคล้องกับ ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งมีความเห็นว่าควรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด (Learning by Doing) โดยคำนึงถึงความพร้อม ความแตกต่างระหว่างบุคคลและความสนใจของเด็กเป็นพื้นฐาน
เพียเจต์ (Piaget) ได้ให้แนวคิดว่า ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจำเป็นต้องให้อิสระเสรีในการอยู่ร่วมกับเด็ก ในลักษณะที่ให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าซักถาม ส่งเสริมให้เด็กกระตือรือร้น และส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะแข่งขันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยอมรับซึ่งกันและกัน ในกระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัด สิ่งแวดล้อมให้เด็กได้มีการกระทำในกิจกรรม สิ่งสำคัญใช้กิจกรรมการเล่นเป็นสื่อการสอน เพราะการเล่นเป็นวิธียั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจความกระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้อีริคสัน (Erikson) เน้นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกทางและยอมรับความสำคัญของวัยเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางด้านอารมณ์ แรงจูงใจอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพกีเซล (ฉวีวรรณ จึงเจริญ. 2528 : 7 - 12 ; อ้างอิงมาจาก Gesell.n.d.) เน้นเรื่องวุฒิภาวะ (Maturity) เขาเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กนั้นเป็นไปตามแบบแผนลำดับขั้นแห่งพัฒนาการ จะข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราแห่งการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันในตัวเด็กในทัศนะของกีเซลล์ สิ่งแวดล้อมไม่ได้มีอิทธิพลต่อเด็กเป็นสำคัญ แต่วุฒิภาวะทางร่างกายมีความสำคัญมาก และเป็นตัวกำหนดถึงพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กด้วยสรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงอย่างเป็นรูปธรรม โดยการลงมือจัดกระทำกับวัตถุสิ่งของ และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ตามความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็ก ทำให้เด็กเกิดทักษะต่าง ๆ เช่น การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ การลงมือปฏิบัติ เป็นต้นนอกจากนี้นักจิตวิทยาหลายท่านได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อการนำไปใช้จัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม โดยแบ่งทฤษฎีไว้แตกต่างกันตามหลักการและแนวคิด (เยาวพา เดชะคุปต์ , 2542 : 60 - 68) ซึ่งสามารถนำทฤษฎีการเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอรไดค์ (Edward L. Throndike) ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ หรือทฤษฎี S - R หรือทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นโดย เอ็ดเวิร์ด แอล ธอร์นไดค์ (Edward L. Throndike) นักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน ธอร์นไดค์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องสร้างความเชื่อมโยงหรือพันธะ (Brand หรือ Connection) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยอาศัยการลองผิดลองถูก (Trial and Error) จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี เหมาะสมที่สุด
หลักการเรียนรู้ กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ สรุป 3 ประการ ดังนี้1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อม หรือความมีวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งทางด้านร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ในการเรียนรู้ และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาท สมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่เชื่อมโยงกับความรู้หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เรียน ถ้าผู้เรียนเกิดมีความพร้อมตามองค์ประกอบดังกล่าว ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี2. กฎของการฝึกหัด (Law of Exercise) หมายถึง การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ ก็ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้อง ย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้ กฎของการฝึกหัดแบ่งออกได้เป็น2.1 กฎแห่งการใช้ (Law of Use) หมายถึงการฝึกฝน การตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ ย่อมทำให้เกิดพันธะที่แน่นแฟ้นระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้อยู่เสมอ ก็ทำให้การเรียนรู้เกิดความมั่นคงถาวรไม่ลืม2.2 กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disuse) หมายถึง การไม่ได้ฝึกฝน หรือไม่ได้ใช้ ไม่ได้กระทำบ่อย ๆ ย่อมทำให้ความมั่นคงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรือลดความเข้มลง หรือเมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วไม่ได้นำความรู้ไปใช้ หรือไม่เคยใช้ ย่อมทำให้การทำกิจกรรมนั้นไม่ดีเท่าที่ควรหรืออาจจะทำให้ความรู้นั้นลืมเลือนไปได้3. กฎแห่งความเป็นผล (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลที่ทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีความเข้มแข็งมั่นคง หรือเกิดความอยากจะเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียน หรือเกิดความเบื่อหน่ายเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้การนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูหรือนักศึกษาสามารถนำแนวคิดของธอร์นไดค์ไปใช ้ดังนี้1. การจัดสิ่งเร้าที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนอง โดยการสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล เพื่อให้เด็กเกิดความพอใจในการเรียน2. จัดหาอุปกรณ์ที่น่าสนใจ เหมาะแก่การเรียนรู้ เพื่อทำให้เด็กพอใจในการเรียน3. ให้เด็กมีโอกาสฝึกปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่ว และมีแรงจูงใจ มีความสนใจ เข้าถึงเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่ทำ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะ
4. การฝึกฝนไม่ควรกระทำนาน ๆ จนเด็กรู้สึกจำเจจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเด็กในวัยนี้มีช่วงความสนใจต่ำ เมื่อรู้สึกว่าเด็กลดความสนใจในสิ่งที่ทำควรเปลี่ยนกิจกรรมเป็นอย่างอื่น หรือจัดกิจกรรมหลากหลายให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner) สกินเนอร์ (Skinner) เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำหรือแบบปฏิบัติการ ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน คือ Operant Conditioning Theory หรือ Instrumental conditioning theory หรือ Type - R Conditioning Theory สกินเนอร์ได้เสนอแนวความคิดโดยจำแนกทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ1. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Response Behavior) ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนดหรือดึงออกมา เช่น น้ำลายไหลเนื่องจากใส่อาหารเข้าไปในปาก สะดุ้งเพราะถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า หรือการหรี่ตาเมื่อถูกแสงไฟ พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type R (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) การตอบสนองแบบนี้จะต่างกับแบบแรก เพราะอินทรีย์เป็นตัวกำหนดหรือเป็นผู้สั่งให้กระทำต่อสิ่งเร้า ไม่ใช้ให้สิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของอินทรีย์ เช่น การถางหญ้า การเขียนหนังสือ การรีดผ้า พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมแบบ Operant Conditioning)หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่กำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง เราจะให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยไม่บังคับหรือบอกแนวทางในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วจึง "เสริมแรง" พฤติกรรมนั้นทันที เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย1. การใช้เสริมแรง (Reinforcement) ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ครูควรให้การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนหรือเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ พอใจที่จะเรียน2. การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างและการลดพฤติกรรมบางอย่าง (Shaping Behavior) หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม ครูควรมีการวางแผนให้เหมาะสม3. บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Maching) และเครื่องช่วยสอน (Teaching Learning) สกินเนอร์ได้เสนอการสอนแบบโปรแกรม ซึ่งจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เป็นขั้น ๆ และจัดลำดับให้เป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เรียนได้ง่าย และเมื่อสำเร็จแต่ละขั้นจะได้รับแรงเสริม หรือให้รางวัลทันที ทั้งบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องช่วยสอนต่างเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้ ซึ่งบทเรียนดังกล่าวควรนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสันอีริคสัน (Erikson) ได้เน้นความสำคัญที่วัยของเด็ก ขั้นตอนของการพัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็กว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เขาพอใจ ประสบความสำเร็จ เขาจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น แต่ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางใจผู้อื่นอีริคสัน ยังได้ย้ำว่า ถ้าหากเด็กไม่พัฒนาและผ่านขั้นต้นแล้ว เด็กก็จะไม่สามารถพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไปได้การนำมาใช้ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้น การจัดกิจกรรมในขั้นก่อนประถมศึกษา เน้นการที่เด็กได้ประสบความสำเร็จและพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ต่อเพื่อนฝูงและต่อครู ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมองสังคมใหม่ สังคมโรงเรียนในด้านดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อผู้อื่น และถ้าหากว่าเด็กพอใจและมองโรงเรียนในแง่ดีแล้ว เด็กก็อยากมาโรงเรียน ก็จะได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้น การช่วยเหลือตนเอง เช่น การไปห้องน้ำ การแต่งกาย การเก็บของเล่นเข้าที่นั้น ในระยะเริ่มต้น ครูจะดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด และใช้การชมเชย การชักชวนให้ทำกิจกรรมร่วมกับครู ก็จะเป็นการไม่บังคับ เด็กไม่เกิดการต่อต้านและเกิดความพอใจเป็นรางวัลในการทำกิจกรรมช่วยเหลือ การหัวเราะเยาะในสิ่งที่เด็กทำ หรือการจัดแข่งขันผลงานที่อาจจะก่อให้เกิดการละอาย ก็ไม่ควรใช้ เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกอีกต่อไปกิจกรรมใน
ระดับก่อนประถมศึกษา เน้
นผ่านการเล่น ซึ่งเป็นการสนุกสนาน สื่ออุปกรณ์ที่ใช้ ก็เรียกร้องและเชิญชวนต่อการเข้าร่วมการใช้จินตนาการ บทบาทสมมติ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อพัฒนาของเด็กวัยนี้ ก็มีการจัดให้อยู่ตลอดเวลา

เรียนการสอนมนุษย์ต่างดาว







วันนี้เรียนสนุกดีค่ะเพราะอาจารย์ให้จับกลุ่มช่วยกันคิดวิธีการสอนมนุษย์ต่างดาวและแต่ละกลุ่มก็ได้ออกมานำเสนอวิธีการสอนที่ได้ช่วยกันคิดส่วนมากก็จะคิดออกมาในวิธีที่คล้ายๆกันคือการใช้สื่อสอนแทนหนังสือ

12.11.50

สรุปงานวิจัย






1. ต้องการทราบผลการสอนด้วยสื่อต่างชนิด คือ การสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพ การสอนด้วยสื่อที่เป็นจำลองการสอนด้วยสื่อที่เป็นภาพร่วมกับของจำลองว่าทำให้เด็กปฐมวัยที่มีเพศต่างกันมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันหรือไม่



2. ชั้นอนุบาล 2 พ.ศ. 2543 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการปฐมศึกษา อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 614 คน จาก 15 โรงเรียน



3. เครื่องที่ใช้ในการวิจัย 2 ประเภท โดยให้เด็กทำแบบทดสอบ 1. แบบทดสอบ 1 ฉบับ 2. แผนการสอนมี 3 ฉบับ ผลก็คือ เด็กที่เรียนรู้ด้วยของจริงจะเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่เรียนรุ้ด้วยของจำลอง

ความรู้อันแสนสนุก




วันนี้อาจารย์สอนดีมากๆเรียนแล้วมีความสุขมากเลยสนุกแต่ว่าคอมพิวเตอร์ช้ามากรอจนเบื่อแต่ก็ไม่เป็นไรค่ะแค่เรียนแล้วมีความสุข ได้ความรู้ก็ดีค่ะ และยังได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนและช่วยเพื่อนทำงานส่งอาจารย์ด้วย ดีใจมากเลยค่ะ

เรียนครั้งที่2




วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่เรียนแล้วสนุกเพราะชอบทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยากให้อาจารย์สอนแบบนี้บ่อยๆแต่ห้องคอมวันนี้ไม่ดีเลยอยากใช้ห้องคอมที่เน็ตเร็วเครื่องคอมครบต่อจำนวนนักศึกษาค่ะ