skip to main
|
skip to sidebar
Math for Early Childhood
เพื่อศึกษาสืบค้นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.3.51
สอบ 28/2/51
วันนี้ทำข้อสอบไม่ได้เลย มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่งนัก
อยากรู้จังเพื่อนๆแต่ละคนทำข้อสอบได้ไหมนะ แต่เราก็ทำเต็มที่
แล้วล่ะได้หรือไม่ก็รอดูผลสอบนะค่ะ
ยังรอวันนั้นค่ะ
เมื่อไหร่จะถึงเวลาไปหนองคายและกาญจนบุรีน่ะ อยากรู้จัง
อยากไปจังเลยนักศึกษาปี 3 เอกการศึกษาปฐมวัยยังรออยู่นะค่ะอาจารย์..........
..........................
เพลง
เพลงลองนับดูสิ.
นิ้ว นิ้ว นิ้ว นิ้วมือมีข้างละห้า
สองมือรวมกันเข้ามา นับนิ้วนั้นหนาได้เท่าไหร
ฉันนับได้สิบนิ้วเอย
18.1.51
เพลง
เพลงนับเลข
โน้นนกบินมาลิ๊บๆนกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา6 7 8 9 10 ตัว
10.12.50
ตารางกิจวัตรประจำวัน(รร.อนุบาลสาธิตจันทรเกษม)
7.30-08.15 น. รับเด็กเป็นรายบุคคล
8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ
8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ
8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า
10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม
10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม
11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน
12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน
14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า
14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย
14.40-15.00 น. เกมการศึกษา
2.12.50
สองพี่น้องแบ่งของ
ชาวนาผู้หนึ่งมีบุตรสาวอยู่สองคน วันหนึ่งอยากจะทดลองปัญญาของบุตรทั้งสองจึงส่งแตงโมให้บุตรทั้งสอง 1 ใบ โดยบอกว่าให้ทั้งสองไปแบ่งกันกินให้เท่าๆกันเพื่อจะได้ไม่ต้องโต้เถียงทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องได้มากได้น้อย ถ้าแบ่งไม่ได้เท่าๆกันเกิดทุ่มเถียงกันขึ้นเมื่อใด ก็จะต้องถูกลงโทษทั้งสองคนเด็กทั้งสอง เมื่อได้รับแตงโมมาแล้วไม่รู้ว่าจะผ่าแบ่งกันอย่างไรจึงจะได้ส่วนเท่าๆกันด้วยเกรงจะต้องถูกทำโทษ ในที่สุดจึงตกลงกันในวิธีการดังนี้ โดยที่เด็กทั้งสอง เห็นว่าเป็นวิธีที่ยุติธรรม คือ ถ้าหากใครเป็นผู้ผ่าแตงโมออกเป็นสองซีก ผู้นั้นจะต้องเป็นฝ่ายเลือกทีหลัง และจะต้องยอมให้ฝ่ายที่ไม่ใช่เป็นคนผ่าเลือกก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้คนผ่าลำเอียง โดยผ่าเป็นชิ้นโตชิ้นหนึ่งและชิ้นเล็กชิ้นหนึ่ง แล้วคนผ่ารีบเลือกเอาชิ้นโตเป็นของตนเองเสียก่อนเมื่อเด็กทั้งสองได้ผ่าแตงโมแบ่งกันเสร็จแล้ว จึงรีบวิ่งไปเล่าให้บิดาฟัง บิดามีความพอใจในสติปัญญาของเด็กทั้งสองนั้นมาก
" มีปัญญาเหมือนอาวุธสุดคม...คิดใดก็สมคะเนหมาย
26.11.50
บทความคณิตศาสตร์
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการต่างเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือต้องจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการและธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระยะปฐมวัยเป็นวัยเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สนใจ อยากรู้ อยากเห็น มีการเลียนแบบผู้ใหญ่ พัฒนาการทางสติปัญญายังไม่เจริญเท่าที่ควร เด็กยังไม่สามารถศึกษาเหตุผลได้ สิ่งที่แสดงออกมามักเกิดจากการรับรู้และจดจำเลียนแบบผู้อื่น ลักษณะที่เด่นชัดของวัยนี้ คือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Ego - centric)นักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการยิ่งตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กและเน้นการส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ โดยการจัดประสบการณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมแก่เด็ก ดังนี้เพสตาลอสซี (Peatalozzi) ได้ให้แนวคิดว่า การสอนเด็กเล็กต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนความแตกต่างระหว่างบุคคล เขาเป็นผู้ริเริ่มคิดเรื่องความพร้อมและไม่บังคับให้เด็กเรียนแบบท่องจำ แต่ให้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ทางวัตถุหรือรูปธรรมที่ทำให้เด็กได้สังเกตและเข้าใจจากการเห็นด้วยสายตา สัมผัสจับต้องและรู้สึก เขาเชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ ความต้องการ และอัตราในการเรียนรู้เฟรอเบล (Froebell) มีแนวคิดว่า การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กเล็ก เขามีความเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถอยู่ภายใน และจะแสดงออกเมื่อได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนด้วยการเล่นกิจกรรมต่าง ๆ เขาจึงประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กและเสนอกิจกรรมการเล่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กมอนเตสเซอรี่ (Montessori) เป็นผู้นำความคิดของเฟรอเบลมาปรับปรุง และเสนอการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่น โดยเชื่อว่าการสอนเด็กเล็กนั้นจะต้องคำนึงถึงเสรีภาพ และความต้องการของเด็กเป็นสำคัญ มีความเห็นสอดคล้องกับ ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งมีความเห็นว่าควรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด (Learning by Doing) โดยคำนึงถึงความพร้อม ความแตกต่างระหว่างบุคคลและความสนใจของเด็กเป็นพื้นฐาน
เพียเจต์ (Piaget) ได้ให้แนวคิดว่า ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจำเป็นต้องให้อิสระเสรีในการอยู่ร่วมกับเด็ก ในลักษณะที่ให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าซักถาม ส่งเสริมให้เด็กกระตือรือร้น และส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะแข่งขันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยอมรับซึ่งกันและกัน ในกระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัด สิ่งแวดล้อมให้เด็กได้มีการกระทำในกิจกรรม สิ่งสำคัญใช้กิจกรรมการเล่นเป็นสื่อการสอน เพราะการเล่นเป็นวิธียั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจความกระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้อีริคสัน (Erikson) เน้นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกทางและยอมรับความสำคัญของวัยเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางด้านอารมณ์ แรงจูงใจอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพกีเซล (ฉวีวรรณ จึงเจริญ. 2528 : 7 - 12 ; อ้างอิงมาจาก Gesell.n.d.) เน้นเรื่องวุฒิภาวะ (Maturity) เขาเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กนั้นเป็นไปตามแบบแผนลำดับขั้นแห่งพัฒนาการ จะข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราแห่งการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันในตัวเด็กในทัศนะของกีเซลล์ สิ่งแวดล้อมไม่ได้มีอิทธิพลต่อเด็กเป็นสำคัญ แต่วุฒิภาวะทางร่างกายมีความสำคัญมาก และเป็นตัวกำหนดถึงพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กด้วยสรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงอย่างเป็นรูปธรรม โดยการลงมือจัดกระทำกับวัตถุสิ่งของ และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ตามความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็ก ทำให้เด็กเกิดทักษะต่าง ๆ เช่น การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ การลงมือปฏิบัติ เป็นต้นนอกจากนี้นักจิตวิทยาหลายท่านได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อการนำไปใช้จัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม โดยแบ่งทฤษฎีไว้แตกต่างกันตามหลักการและแนวคิด (เยาวพา เดชะคุปต์ , 2542 : 60 - 68) ซึ่งสามารถนำทฤษฎีการเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอรไดค์ (Edward L. Throndike) ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ หรือทฤษฎี S - R หรือทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นโดย เอ็ดเวิร์ด แอล ธอร์นไดค์ (Edward L. Throndike) นักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน ธอร์นไดค์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องสร้างความเชื่อมโยงหรือพันธะ (Brand หรือ Connection) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยอาศัยการลองผิดลองถูก (Trial and Error) จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี เหมาะสมที่สุด
หลักการเรียนรู้ กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ สรุป 3 ประการ ดังนี้1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อม หรือความมีวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งทางด้านร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ในการเรียนรู้ และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาท สมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่เชื่อมโยงกับความรู้หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เรียน ถ้าผู้เรียนเกิดมีความพร้อมตามองค์ประกอบดังกล่าว ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี2. กฎของการฝึกหัด (Law of Exercise) หมายถึง การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ ก็ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้อง ย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้ กฎของการฝึกหัดแบ่งออกได้เป็น2.1 กฎแห่งการใช้ (Law of Use) หมายถึงการฝึกฝน การตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ ย่อมทำให้เกิดพันธะที่แน่นแฟ้นระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้อยู่เสมอ ก็ทำให้การเรียนรู้เกิดความมั่นคงถาวรไม่ลืม2.2 กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disuse) หมายถึง การไม่ได้ฝึกฝน หรือไม่ได้ใช้ ไม่ได้กระทำบ่อย ๆ ย่อมทำให้ความมั่นคงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรือลดความเข้มลง หรือเมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วไม่ได้นำความรู้ไปใช้ หรือไม่เคยใช้ ย่อมทำให้การทำกิจกรรมนั้นไม่ดีเท่าที่ควรหรืออาจจะทำให้ความรู้นั้นลืมเลือนไปได้3. กฎแห่งความเป็นผล (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลที่ทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีความเข้มแข็งมั่นคง หรือเกิดความอยากจะเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียน หรือเกิดความเบื่อหน่ายเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้การนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูหรือนักศึกษาสามารถนำแนวคิดของธอร์นไดค์ไปใช ้ดังนี้1. การจัดสิ่งเร้าที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนอง โดยการสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล เพื่อให้เด็กเกิดความพอใจในการเรียน2. จัดหาอุปกรณ์ที่น่าสนใจ เหมาะแก่การเรียนรู้ เพื่อทำให้เด็กพอใจในการเรียน3. ให้เด็กมีโอกาสฝึกปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่ว และมีแรงจูงใจ มีความสนใจ เข้าถึงเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่ทำ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะ
4. การฝึกฝนไม่ควรกระทำนาน ๆ จนเด็กรู้สึกจำเจจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเด็กในวัยนี้มีช่วงความสนใจต่ำ เมื่อรู้สึกว่าเด็กลดความสนใจในสิ่งที่ทำควรเปลี่ยนกิจกรรมเป็นอย่างอื่น หรือจัดกิจกรรมหลากหลายให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner) สกินเนอร์ (Skinner) เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำหรือแบบปฏิบัติการ ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน คือ Operant Conditioning Theory หรือ Instrumental conditioning theory หรือ Type - R Conditioning Theory สกินเนอร์ได้เสนอแนวความคิดโดยจำแนกทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ1. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Response Behavior) ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนดหรือดึงออกมา เช่น น้ำลายไหลเนื่องจากใส่อาหารเข้าไปในปาก สะดุ้งเพราะถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า หรือการหรี่ตาเมื่อถูกแสงไฟ พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type R (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) การตอบสนองแบบนี้จะต่างกับแบบแรก เพราะอินทรีย์เป็นตัวกำหนดหรือเป็นผู้สั่งให้กระทำต่อสิ่งเร้า ไม่ใช้ให้สิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของอินทรีย์ เช่น การถางหญ้า การเขียนหนังสือ การรีดผ้า พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมแบบ Operant Conditioning)หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่กำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง เราจะให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยไม่บังคับหรือบอกแนวทางในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วจึง "เสริมแรง" พฤติกรรมนั้นทันที เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย1. การใช้เสริมแรง (Reinforcement) ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ครูควรให้การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนหรือเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ พอใจที่จะเรียน2. การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างและการลดพฤติกรรมบางอย่าง (Shaping Behavior) หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม ครูควรมีการวางแผนให้เหมาะสม3. บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Maching) และเครื่องช่วยสอน (Teaching Learning) สกินเนอร์ได้เสนอการสอนแบบโปรแกรม ซึ่งจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เป็นขั้น ๆ และจัดลำดับให้เป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เรียนได้ง่าย และเมื่อสำเร็จแต่ละขั้นจะได้รับแรงเสริม หรือให้รางวัลทันที ทั้งบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องช่วยสอนต่างเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้ ซึ่งบทเรียนดังกล่าวควรนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสันอีริคสัน (Erikson) ได้เน้นความสำคัญที่วัยของเด็ก ขั้นตอนของการพัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็กว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เขาพอใจ ประสบความสำเร็จ เขาจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น แต่ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางใจผู้อื่นอีริคสัน ยังได้ย้ำว่า ถ้าหากเด็กไม่พัฒนาและผ่านขั้นต้นแล้ว เด็กก็จะไม่สามารถพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไปได้การนำมาใช้ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้น การจัดกิจกรรมในขั้นก่อนประถมศึกษา เน้นการที่เด็กได้ประสบความสำเร็จและพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ต่อเพื่อนฝูงและต่อครู ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมองสังคมใหม่ สังคมโรงเรียนในด้านดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อผู้อื่น และถ้าหากว่าเด็กพอใจและมองโรงเรียนในแง่ดีแล้ว เด็กก็อยากมาโรงเรียน ก็จะได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้น การช่วยเหลือตนเอง เช่น การไปห้องน้ำ การแต่งกาย การเก็บของเล่นเข้าที่นั้น ในระยะเริ่มต้น ครูจะดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด และใช้การชมเชย การชักชวนให้ทำกิจกรรมร่วมกับครู ก็จะเป็นการไม่บังคับ เด็กไม่เกิดการต่อต้านและเกิดความพอใจเป็นรางวัลในการทำกิจกรรมช่วยเหลือ การหัวเราะเยาะในสิ่งที่เด็กทำ หรือการจัดแข่งขันผลงานที่อาจจะก่อให้เกิดการละอาย ก็ไม่ควรใช้ เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกอีกต่อไปกิจกรรมใน
ระดับก่อนประถมศึกษา เน้
นผ่านการเล่น ซึ่งเป็นการสนุกสนาน สื่ออุปกรณ์ที่ใช้ ก็เรียกร้องและเชิญชวนต่
อการเข้าร่วมการใช้จินตนาการ บทบาทสมมติ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อพัฒนาของเด็กวัยนี้ ก็มีการจัดให้อยู่ตลอดเวลา
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
มัสดาพร ดีงาม
สนับสนุน
kapook
google
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
บทความMath
mc41.
BB2
primath
MC 41
ทดลองสไลด์
รวมลิงค์ Math game
เตอตริส
funbrain
obec
mc41. game
คณิตแสนสนุก
math game
BBC math
BBC GAME
รวมเพื่อนMATH คบ. 481 ( 5 ) / 1
นางสาวแสงจันทร์ พุทธเจริญ
พัชรินทร์ วงศ์จันทร์
ธารทิพย์ โสภากร
กาญจนา รุยันต์
ณัฏฐา ด้วงแจ่มศรี
สุพรรณี ปิ่นทอง
ศิริรักษ์ คงคารักษ์
ดวงชีวัน พะสุมาตร
เบญจพร รักษาผล
สฤษดิ์ บัวทอง
ฐาปนีย์ นารัตฐา
ไพลดา สังข์ทอง
นูรีดา เจะมะ
ยุวดี แสงโพธิ์แก้ว
อนุลักษณ์ เข็มกลัด
พิชามญช์ นาคะพันธ์
ชนันกานต์ สุศิริ
นิชธาวัลย์ เกสรไพฑูรย์
จริยา ประดับวรรณ
จิราพร พุจารย์
ปัณฑิตา พิเชียรภาคย์
พิชญดา ลาล้ำ
พรรณพร หฤษฏีเกรียงไกร
สุขฤทัย พรประสิทธิ์
โชติกา ภาคเพียร
เอกชัย ดีกระจ่างเพชร
สุดารัตน์ ศิลาเณร
กุลสตรี จิตติพร
ศิริวรรณ พึ่งสุพรรณ
มลฤดี พวงมณี
สุภาพร แก้วพลอย
วัชราภรณ์ ไตรรัตนไพศาล
อาจารย์ผู้สอน
คลังบทความของบล็อก
▼
2008
(4)
▼
มี.ค. 2008
(3)
สอบ 28/2/51
ยังรอวันนั้นค่ะ
เพลง
►
ม.ค. 2008
(1)
►
2007
(7)
►
ธ.ค. 2007
(2)
►
พ.ย. 2007
(5)
เกี่ยวกับฉัน
มัสดาพร ดีงาม
ฉันเป็นคนอารมณ์ดี มีน้ำใจ และรักเพื่อน
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน